homeprovincearchitecturepaintsculpturecontact
 

วัดเสมาท่าค้อ

ประวัติความเป็นมา

วัดเสมาท่าค้อ  ตั้งเมื่อ  พ.ศ. ๒๓๘๕ ชาวบ้านเรียกว่า  วัดบ้านท่าค้อ  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อ  พ.ศ.๒๔๒๑ การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม  เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒  นอจจากนี้มีหน่วยอบรม อ.ป.ต. สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ 

ที่ตั้ง

บ้านท่าค้อ  หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านแล้ง  อำเภออาจสามารถ  จังหวัดร้อยเอ็ด  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๙ไร่ ๓ งาน ๔๘ ตารางวา  อาณาเขต  ทิศเหนือจดเเม่น้ำชีทิศใต้จดหมู่บ้าน  ทิศตะวันออกจดที่ราชพัสดุ  ทิศตะวันตกจดหมู่บ้านท่าค้อและดอนเจ้าปู่

อาคารเสนาสนะ

อุโบสถกว้าง ๗ เมตร  ยาว ๑๑ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นอาคารโบราณ

ศาลาการเปรียญกว้าง ๙เมตร  ยาว  ๒๑ เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๙ 

กุฏิสงฆ์จำนวน ๓หลัง  เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้  ปูชนียวัตถุมี 

พระประธานเก่าแก่ ๑ องค์ (หลวงพ่อเกศมงคล) หน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว  สูง ๓๖ นิ้ว  เนื้อทองเหลือง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ที่จังหวัดธนบุรี  และพระอาจารย์สีหะได้อัญเชิญมาประดิษฐ์ที่วัดเสมาท่าค้อ

 

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระอธิการสา  พ.ศ. ๒๓๘๕-๒๔๐๓
รูปที่ ๒ พระอธิการสุวรรณ พ.ศ.๒๔๑๐
รูปที่ ๓ พระบุดดา  พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๒๕
รูปที่ ๔  พระอธิการสา  พ.ศ.๒๔๒๕-๒๔๔๔
รูปที่ ๕ พระอธิการใส  พ.ศ.๒๔๔๕-๒๔๕๖
รูปที่ ๖ พระอธิการพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๖๑
รูปที่ ๗ พระอธิการขันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๑-๒๔๖๘
รูปที่ ๘ พระอธิการนัย  นันทะโชติ  พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๕
รูปที่ ๙ พระอธิการโส พ.ศ. ๒๔๗๖ -๒๔๘๕
รูปที่ ๑๐ พระอธิการคำตา พ.ศ.๒๔๘๕ – ๒๔๘๖
รูปที่ ๑๑ พระอธิการเคน ปะสันนะจิตโต  พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๙๕
รูปที่ ๑๒ พระอธิการอ้วน ปะภัสสะโร พ.ศ.๒๔๙๖-๒๔๙๙
รูปที่ ๑๓ พระอธิการบุญมา  จิตตะวะโร พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๗
รูปที่ ๑๔ พระอธิการบัว  สุมโน  พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๒
รูปที่ ๑๕ พระครูโอภาสพิพัฒน์  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓  

 

 
 

รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง

เเปลนรูป ๔ เหลี่ยม กว้าง ๗ เมตร  ยาว ๑๑ เมตร มุขหน้าบันไดทอดยาวขึ้นเฉพาะด้านหน้า  สิมหลังนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผนังก่ออิฐฉาบปูนสูง ๓.๓๐ เมตร เจาะช่องหน้าตางด้านละ ๒ ช่อง ฐานแอวขันสูง ๑.๖๐ เมตร ปั้นปูนเป็นบัวปากพานสวยงามมาก หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว สิมเหล่านี้มีความสมบูรณ์ในงานตกแต่งอย่างเต็มที่ นับเป็นสิมตัวอย่างของอีสานที่สมบูรณ์หลังหนึ่ง

 
 

 

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

 
๑. โหง่ ไม้แกะสลักช่างพื้นบัาน ทำอกใหญ่ปากเเละยอดเรียว
๒. ลำยอง สลักไม้เป็นลายกระหนกไขว้
๓. สีหน้า  หรือ หน้าบัน ทำเป็นรัศมีโดยรอบมีดวงตะวันอยู่ตรงกลาง ติดกระจกเงาสะท้อนแสง โดยรอบ
 
 

๔. หางหงส์ สลักไม้รูปหัวนาค แบบพื้นเมือง
๕. ช่อฟ้า ไม้กลึง ประดับกริ่ง

๖.
ฮังผึ้ง แกะสลักเป็นสามช่วง ลักษณะเป็นลายประเภทก้านขดของเถาดอกไม้ ใบไม้ แทรกด้วยภาพสัตว์ เช่น กระรอกและนก โดยเถาและลายออกจากมือตัวราหู

 
 

๗. ปูนปั้นทางเฝ้าบันไดทางขึ้น เป็นรูปแบบของนาค มีหงอน ประตูเเละ หน้าต่างนั้นช่างทำเรียบง่ายไม่มีการแกะสลักแต่อย่างใด
๘. แอวขัน ปั้นปูนอ่อนช้อยได้สัดส่วนแบบอีสานแท้ ๆ เรียกว่าเป็นลักษณะของแอวขันปากพานที่สวยงามมากหลังหนึ่ง คันทวย สลักไม้เป็นูรป หงส์นาค  คือ หัวเป็นนาค แต่มีปีกเป็นหงส์นั่งอยู่บนเต้าไม้ที่ยื่นออกมาจากเสาด้านข้าง เป็นสวนประดับจริง ๆ มากกว่าจะให้รับน้ำหนัก
๙. ภายในมีฐานชุกชี และพระประทานองค์ใหม่

 

 

๑๐. แขนนาง แกะสลักไม้เป็นรูปพญานาค ลำตัวโค้ง ม้วนหัว และ หางออกด้านนอก ตอนกลางมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสิมอื่นๆ คือ มีการสลักตัวคนพนมมือ และ ลิง นั่งหรือ เกาะอยู่ตรงกลางแขนนาง ซึ่งแต่ละแขนนางก็แกะสลักรูปลอยตัวนี้ต่างกันไป